วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

มารู้จักกับ เซนเซอร์ (Censer) กันเถอะ

การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับต่างๆ ขึ้นอยู่กับ ลักษณะการใช้งาน และความสนใจในข้อมูลทางวิทยาศาตร์ ในการสำรวจพื้นผิวดาวเคราะห์ของหุ่นยนต์สำรวจ อาจติดตั้งเซ็นเซอร์ มากกว่า 100 รูปแบบ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ให้ได้มากที่สุด และนี่คือ เซ็นเซอร์แบบต่างๆ ที่ง่ายและพื้นฐาน ที่สุด

เซนเซอร์แสง
เซนเซอร์แสงจะทำหน้าที่เปลี่ยนแบบต่าง ๆ ให้กลายเป็นสัญญาณไฟฟ้า ทำหน้าที่เป็นตาของหุ่นยนต์ โดยอุปกรณ์เซนเซอร์แสงที่นิยมใช้ในหุ่นยนต์ได้แก่

LDR
แอลดีอาร์ (LDR) ย่อมาจาก Light Dependent Resistor ทำหน้าที่เปลี่ยนระดับความเข้มแสงให้กลายเป็นค่าความต้านทานทางไฟฟ้าโดยถ้า มีแสงตกกระทบมากแอลดีอาร์จะมีค่าความต้านทานน้อย



โมดูลตรวจวัดระยะทางด้วยแสงอินฟราเรด

คุณสมบัติ

เป็นโมดูลตรวจจับระยะทางแบบอินฟราเรด ที่สามารถวัดระยะทาง

โฟโต้ทรานซิสเตอร์
Photo Transistor มีหลักการทำงานคือ เมื่อแสงมากระทบจนมีค่าถึงระดับหนึ่งจึงจะทำงาน ซึ่งกระแสไฟฟ้าจะไหลเพียงทางเดียวนิยมใช้วัดแสงที่มีความเข้าไม่แตกต่างกัน มากนัก และยังสามารถรับแสงที่ตาเปล่ามองไม่เห็น




โฟโต้ไดโอด
Photo Diode มีหลักการทำงานเหมือนโฟโต้ทรานซิสเตอร์ แต่จะนำกระแสได้น้อยกว่า

เซนเซอร์เสียง
เซนเซอร์ทำหน้าที่เปลี่ยนความถี่เสียงให้กลายเป็นสัญญาณไฟฟ้า ทำหน้าที่คล้ายเป็นหูของหุ่นยนต์ โดยอุปกรณ์เซนเซอร์เสียงที่นิยมใช้ในหุ่นยนต์ได้แก่

คอนเดนเซอร์ ไมโครโฟน
Condenser Microphone ทำหน้าที่เปลี่ยนระดับของเสียงให้กลายเป็นระดับแรงดันไฟฟ้า ซึ่งมีขนาดเล็กและความไวสูง

อัลตราโซนิคเซนเซอร์
Ultrasonic Sensor ทำหน้าที่คล้ายกับไมโครโฟน แต่จะรับเฉพาะความถี่ที่สูงประมาณ 38-40 กิโลเฮิทซ์ ซึ่งสูงกว่าที่หูมนุษย์จะได้ยิน มักนำไปใช้ในการวัดระยะทาง


เซนเซอร์สัมผัส

เซนเซอร์สัมผัสเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนการสัมผัส ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผิวหนังรับความรู้สึกของหุ่นยนต์ โดยอุปกรณ์เซนเซอร์สัมผัสที่นิยมใช้ในหุ่นยนต์ ได้แก่

สวิทช์แบบกลไก
Mechanical Switch เป็นอุปกรณ์แบบกลไก ที่ทำหน้าที่รับแรงกดโดยที่หน้าสัมผัสของสวิทช์จะเกิดการนำกระแสไฟฟ้า ซึ่งเราสามารถนำไปตัดต่อให้เกิดสัญญาณทางไฟฟ้าได้

รีดสวิทช์
Reed Switch ทำหน้าที่เหมือนกับสวิทช์ แต่ไม่ได้ตรวจจับการกดแต่จะตรวจจับแรงแม่เหล็กแทนการกด ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดการกระแทก นิยมนำไปติดประตู และหน้าต่าง ป้องกันขโมยเปิ ดประตู-หน้าต่าง

สวิทช์ปรอท
ทำหน้าที่เหมือนกับสวิทช์ เมื่อโลหะปรอทภายในไหล มาสัมผัสโลหะตัวนำทั้ง 2 แผ่น นิยมใช้ในการตรวจจับ การเอียง

เซนเซอร์อุณหภูมิ

เซนเซอร์อุณหภูมิ (Temperature Sensor) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนระดับอุณหภูมิ เช่น ร้อน-เย็น เป็นระดับแรงดันไฟฟ้า ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นส่วนรับความรู้สึกของหุ่นยนต์

เทอมิสเตอร์
Thermister เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนอุณหภูมิให้กลายเป็นระดับความต้านทาน ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ เอ็นทีซี และ พีทีซี



Thermister เป็น อุปกรณ์ตัวจับความร้อนที่ใช้สำหรับป้องกันอุณหภูมิที่สูงเกินกว่าค่าที่ กำหนดไว้ที่ตัวเซนเซอร์ จะทำงานร่วมกับรีเลย์ ตัวมันเองมีขนาดเล็ก และเป็นตัวตรวจจับความร้อนที่นิยมใช้มากที่สุด

Thermister ผลิตจากการโด๊ปสารเซมิคอนดักเตอร์ประเภทหนึ่ง ทำให้มีคุณสมบัติมีค่าความต้านทานเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ
Thermister มีอยู่สองประเภทคือ NTC และ PTC ชนิดที่ใช้ในวงการมอเตอร์ คือ ชนิด PTC โดย มีหลักการทำงานคือค่าความต้านทานของตัวมันจะแปรผันตรงกับอุณหภูมิที่เพิ่ม ขึ้น แต่การเพิ่มขึ้นของค่าความต้านทาน จะไม่เป็นเส้นตรง และมีการลดลงในบางช่วงซึ่งเป็นช่วงที่ไม่อยู่ในจุดที่ใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น Thermister PTC 150  ถ้าเราให้ความร้อนที่ตัวเซนเซอร์ในช่วงแรกค่าความต้านทานของมันจะลดลงเล็กน้อย ปกติค่าความต้านทานจะอยู่ประมาณ 50 โอห์มที่ 30 องศา แต่เมื่ออุณหภูมิที่ตัวเซนเซอร์ตรวจจับได้มีอุณหภูมิประมาณ 130 องศาค่าความต้านทานของมันจะเพิ่มสูงขึ้นและจะสูงขึ้นเกือบเป็นเส้นตรงเมื่อมีอุณหภูมิที่ตัวจับได้ 145 องศา

Thermister จะถูกนำไปต่อเข้ากับ Thermister Relay ที่มีหน้าที่คอยตรวจจับค่าความต้านทานของ Thermister ว่ามีความต้านทานตามที่กำหนดไว้หรือยัง ซึ่งปกติจะอยู่ประมาณ 2700 -3500 โอห์ม นั่นก็หมายความว่า Thermister  PTC 150 ที่อุณหภูมิ 150 องศา ตัวมันเองจะมีค่าความต้านทานที่เกินกว่าค่า 2700-3500 โอห์ม นั่นก็หมายความว่าเมื่ออุณหภูมิสูงถึง 150 องศาค่าความต้านทานของ Thermister จะเป็นตัวสั่งให้ Thermister Relay ทริปวงจรออก

ส่วนเทอร์มิสเตอร์ประเภท NTC จะมีคุณสมบัติตรงข้ามกับแบบ PTC และ ให้อัตราการเปลี่ยนแปลงด้านความต้านทานต่ออุณหภูมิที่ค่อนข้างเกือบคงที่ กว่า แต่มักจะถูกใช้ในตัวเซ็นเซอร์ประเภทเครื่องมือวัดอุณหภูมิประเภทมือถือเสีย เป็นส่วนใหญ่


ค่าของ NTC Thermister ที่ใช้กับตู้เย็นรุ่นใหม่ ภายในช่องฟรีสเซอร์ ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุม
-20 องศาC     มีค่าความต้านทาน     22.3K
-15 องศาC     มีค่าความต้านทาน     16.9K
-10 องศาC     มีค่าความต้านทาน     13.0K
-5 องศาC        มีค่าความต้านทาน     10.1K
0 องศาC          มีค่าความต้านทาน     7.8K
+5 องศาC        มีค่าความต้านทาน     6.2K
+10 องศาC      มีค่าความต้านทาน     4.9K
+15 องศาC       มีค่าความต้านทาน     3.9K
+20 องศาC        มีค่าความต้านทาน     3.1K
+25 องศาC        มีค่าความต้านทาน     2.5K
+30 องศาC        มีค่าความต้านทาน     2.0K
+40 องศาC        มีค่าความต้านทาน     1.4K
+50 องศาC        มีค่าความต้านทาน     0.8K


ไบเมทอลลิค หรือ เทอร์โมสตัท ( Bimetallic / Thermostat )
เป็นอุปกรณ์ตัวจับความร้อนที่ใช้สำหรับป้องกันอุณหภูมิที่สูงเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ที่ตัวเซนเซอร์

Bimetallic ทำ งานเหมือนเทอร์โมสตัทของเตารีด จะถูกติดตั้งไว้ที่ขดลวดบริเวณปลายคอยล์เนื่องจากมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เพราะตัวมันเองจะมีหน้าสัมผัสอยู่แล้ว การใช้งานจะนำไปต่อเข้ากับชุดคอนโทรลโดยตรง


อาร์ทีดี ( RTD )
มีหลายประเภท ประเภทที่นิยม คือ PT100 โดยที่ PT100 มีความหมายว่า ที่อุณหภูมิ 0 องศาตัว PT100 จะมีค่าความต้านทาน 100 โอห์ม RTD ต้องใช้ร่วมกับรีเลย์เช่นกัน สามารถเซ็ทได้เป็นทั้งชุดป้องกันอุณหภูมิสูง หรือใช้วัดค่าอุณหภูมิได้เลย
ข้อเสียมีราคาค่อนข้างแพง 

เทอร์โมคัปเปิ้ล ( Thermocouple )


เทมเพอเรเจอร์เซนเซอร์โมดูล
Temperature Sensor Module เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนระดับอุณหภูมิเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่มีความ เที่ยงตรงสูง เช่น IC อุณหภูมิ เซนเซอร์แบบนี้จะให้ความเที่ยงตรงของค่าที่อ่านจากจากเทอมิสเตอร์ ไอซีตระกูล 335 เช่น LM135/LM235/LM335 มีความไวทางด้านเอาต์พุตเป็น 10 mV/° K ,ไอซีตระกูล 34 เช่น เบอร์ LM34 จากบริษัท National Semiconductor



DS1820



Thermometer DS1621
เซ็นเซอร์สนามแม่เหล็ก


UGN3503

อซีตรวจจับฮอลเอฟเฟ็ก (hall effect)
-ตรวจจับสนามแม่เหล็กที่มีความไวถึง 23 KHz
- ความไวในการทำงาน 1.30mV/G ที่ไฟเลี้ยง 5V


เซนเซอร์แก๊ส
ซนเซอร์แก๊ส (Gas Sensor) ทำหน้าที่คล้ายจมูกของหุ่นยนต์ที่แยกความหนาแน่นของแก๊สที่อยู่ในอากาศ โดยโครงสร้างภายในจะมีลักษณะพิเศษที่สามารถเปลี่ยนความหนาแน่นของแก๊สเป็น สัญญาณไฟฟ้าได้ 



แผงวงจรวัดอุณหภูมิแบบไม่ต้องสัมผัส
ใช้ประยุกต์ในการตรวจจับได้หลากหลายเช่นทำระบบกันขโมย หรือใช้ติดตั้งกับหุ่นยนต์เพื่อตรวจวัดอุณหภูมิและเปลวไฟ


โมดูลตรวจจับความเคลื่อนไหว


คุณสมบัติ

    * ระยะการตรวจจับสูงสุด 20 ฟุต
    * เมื่อตรวจพบความเคลื่อนไหวจะให้ผลการทำงานเป็นสัญญาณลอจิก “1”
    * ใช้เวลาในการปรับตัวเพื่อตรวจจับการเปลี่ยนแปลงช่วง 10 ถึง 60 วินาที

แผงวงจรตรวจจับความเอียง



คุณสมบัติ

    * ใช้ตัวตรวจจับความเอียงเบอร์ GP1S036HEZ จาก Sharp Microelectronics
    * ให้ผลการทำงานเป็นลอจิก 2 บิต เพื่อบอกมุมที่เอียงไป 4 ช่วงคือ
      90 องศา (ทำงานตั้งแต่ 60 ถึง 90 องศา)
      180 องศา (ทำงานตั้งแต่ 150 ถึง 180 องศา)
      270 องศา (ทำงานตั้งแต่ 240 ถึง 270 องศา)
      0 องศา (ทำงานตั้งแต่ 330 ถึง 0 องศา)

เข็มทิศแบบดิจิตอล

 โมดูลเข็มทิศแบบดิจิตอล เป็นเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เชื่อมต่อกับไมโครคอนโทรลเลอร์ เพื่อใช้ระบุตำแหน่งทิศทางได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เหมาะอย่างยิงกับการประยุกต์ใช้งานกับหุนยนต์ หรืออุปกรณ์ควบคุมต่างๆ ที่ต้องมีการเคลื่อนท



วัดความชื้นและอุณหภูมิ SHT-11

เรื่องน่ารู้ : การนำหุ่นยนต์มาใช้งาน และวิทยาการหุ่นยนต์ในอนาคต



หากให้จินตนาการถึงโลกในอนาคต หลายคนคงนึกถึงโลกที่เต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก ระบบอัตโนมัติต่างๆ การนั่งยานพาหนะโดยไม่มีคนขับ ระบบอัจฉริยะที่ตอบได้ทุกคำถาม และสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คงเป็นหุ่นยนต์ที่คอยรับใช้มนุษย์นั่นเอง

โลกในอนาคต

ตั้งแต่อดีตหุ่นยนต์ถูกวางให้เป็นเป็นเครื่องจักรที่มีความคิด สามารถตอบสนองรับใช้มนุษย์ได้อย่างขยันขันแข็ง ดังจะเห็นได้จากคำว่า “หุ่นยนต์” ในภาษาอังกฤษคือคำว่า “โรบอท” (robot) นั้นมีรากศัพท์มาจากภาษาเช็ก ซึ่งความหมายว่า “ทาสผู้รับใช้” โดยทั่วไปแล้วคนส่วนใหญ่จะรู้จักหุ่นยนต์ในลักษณะของเครื่องจักรกลที่ทำเป็นรูปร่างคล้ายสิ่งมีชิวิต เช่น คน หรือสัตว์ต่างๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วหุ่นยนต์มีรูปร่างหลายลักษณะมากมาย หุ่นยนต์บางประเภทอาจจะมีแค่ก้านโยงประกอบกันเป็นแขนกลเพื่อใช้ในการหยิบจับสิ่งของต่างๆ หรือในบางประเภทอาจจะอยู่ในรูปแบบของยานพาหนะเช่น รถ หรือเครื่องบินก็ได้เช่นกัน เดิมทีนั้นหุ่นยนต์จะทำงานได้อย่างจำกัด ภายใต้คำสั่งของมนุษย์ แต่ในปัจจุบันนี้วิทยาการหุ่นยนต์ได้ก้าวหน้าไปมาก หุ่นยนต์เริ่มที่จะมีความคิดตัดสินใจเองได้ จากฐากความรู้ที่มีอยู่เดิม และมีกำลังที่จะทำงานมากขึ้นในขณะที่อุปกรณ์เล็กลง ทั้งนี้เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถคำนวณในสิ่งที่ซับซ้อนได้เร็วขึ้น และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำหุ่นยนต์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในอนาคตนั้นหุ่นยนต์จะก้าวเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างแน่นอน เราสามารถที่จะนำวิทยาการหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในอนาคตโดยแบ่งเป็นด้านใหญ่ๆได้ดังนี้

การนำหุ่นยนต์มาใช้งานด้านต่างๆ ในอนาคต

1.ด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการผลิต ในอนาคตนั้นประชากรของโลกมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ความต้องการในอาหารมีแนวโน้มที่จะต้องการมากขึ้นเช่นกัน การทำเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมใช้เวลามาก ให้ผลผลิตต่ำ อีกทั้งยังต้องใช้แรงงานในการดูแลรักษาค่อนข้างมาก การที่จะเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นนอกจากการวิจัยพันธุ์พืชให้ได้ผลผลิตสูง เก็บเกี่ยวเร็ว และมีความต้านทานโรคสูงแล้ว วิทยาการหุ่นยนต์เป็นอีกศาสตร์ที่ถูกนำมาใช้มากขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิต เช่นการนำ รถไถนา รถดำนาและรถเก็บเกี่ยว มาพัฒนาเป็นหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติ ในอตีตหุ่นยนต์นั้น จะมีข้อจำกัดค่อนข้างมากในการใช้งานกลางแจ้ง เนื่องจากความชื้น สภาพที่เปียกแฉะ หรือแสงแดด จะเป็นอันตรายอย่างมากกับวงจรไฟฟ้าของหุ่นยนต์ ยิ่งการใช้งานในสวนไร่นาด้วยแล้วแทบจะเลิกหวังได้เลย แต่ด้วยเทคโนโลยีและความสามารถที่เพิ่มขึ้นของหุ่นยนต์ หุ่นยนต์ถูกพัฒนาปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมกลางแจ้งได้ดีขึ้น จนทุกวันนี้หุ่นยนต์สามารถที่จะทำงานกลางฝนได้ และมีความสามารถในการปีนป่าย ขึ้นจากหลุมในสภาพของผืนดินของการเพาะปลูกได้อย่างดี

การใช้หุ่นยนต์ช่วยในงานเกษตรกรรม

จากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น นอกจากความต้องการทางด้านอาหารที่เพิ่มขึ้นแล้ว ความต้องการทางด้านเครื่องมือ เครื่องใช้ก็มีไม่แพ้กัน โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆจำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ การใช้แรงงานคนในการผลิตมีข้อจำกัดในเรื่องเวลาทำงาน ดังนั้นแนวโน้มที่หุ่นยนต์จะถูกนำมาใช้แทนที่มนุษย์จึงมีมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากหุ่นยนต์มีข้อจำกัดในการทำงานน้อยกว่ามนุษย์ มีความเร็ว ความแม่นยำ และความละเอียดสูง ทำให้ผลผลิตที่ได้มีมาตรฐานที่คงที่ รวดเร็ว และเพียงพอกับความต้องการ โดยทั่วไปแล้วเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นค่อนข้างที่จะเรียบง่ายเมื่อเทียบกับหุ่นยนต์ชนิดอื่นๆ เนื่องจากหุ่นยนต์ที่ใช้ในโรงงานจะเป็นประเภทแขนกลชนิดไม่เคลื่อนที่ การทำงานอยู่ในวงจำกัด และมีหน้าที่เฉพาะต่องานนั้นๆเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ดังนั้นหุ่นยนต์ประเภทนี้จึงมุ่งเน้นพัฒนาที่ความละเอียด และความเที่ยงตรงในการทำงาน

หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม

2. ด้านการสำรวจ ในโลกเราใบนี้ยังมีอีกหลายสถานที่ที่มนุษย์ยังไม่เคยได้ไปถึง หรือยังสำรวจได้ไม่ทั่วถึงพอ อย่างเช่นใต้ทะเลอันมืดมิด สภาพอากาศที่เลวร้ายอย่างขั้วโลกใต้ หรือกลางทะเลทรายซาฮาร่า ด้วยสภาพภูมิประเทศ และสภาวะอากาศที่ไม่เหมาะสมกับมนุษย์ จากพื้นที่ต่างๆดังที่ได้กล่าวมานั้น ทำให้เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการสำรวจเพื่อแสวงหาคำตอบในคำถามของมนุษย์ การนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้ามาช่วยสำรวจจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่ง เนื่องจากปัจจุบันความสามารถทางวัสดุศาสตร์ของหุ่นยนต์ถูกพัฒนาไปมาก หุ่นยนต์สามารถที่จะอยู่ในสภาพภูมิอากาศที่หนาวเหน็บได้ อีกทั้งหุ่นยนต์ยังสามารถที่จะแบกอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมากๆ และสามารถวิเคราะห์ผลได้ทันทีจึงเป็นทางเลือกในการสำรวจที่สะดวก และประหยัดเวลามากอีกด้วย

หุ่นยนต์อัตโนมัติสำรวจขั้วโลก

การหาแหล่งพลังงานใหม่ น้ำมันซึ่งเป็นพลังงานหลักมีแน้วโน้มที่จะลดลงไปเรื่อยๆ และหมดลงไปในที่สุด แต่ความต้องการในการใช้พลังงานนั้นกลับสวนทางกับพลังงานที่มีอยู่อย่างจำกัด การค้นหาแหล่งพลังงานใหม่จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้ การเดินทางสำรวจใต้ทะเลอันมืดมิดนั้น เต็มไปด้วยอันตรายมากมาย และความกดดันมหาศาล หุ่นยนต์อัตโนมัติที่ใช้สำรวจใต้ท้องทะเลจึงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่จะถูกนำมาใช้มากขึ้นในการสำรวจนี้

หุ่นยนต์ในการสำรวจใต้น้ำ

การสำรวจอวกาศ ในอดีตมนุษย์มักตั้งคำถามให้กับตัวเองเสมอว่า โลกมีต้นกำเนิดมาจากอะไร โลกที่เราอยู่อาศัยนี้เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่หรือเปล่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะได้รับคำตอบจากสิ่งที่ตัวเองสงสัยอยู่เรื่อยๆ จากการสำรวจดวงดาวใกล้เคียง เช่นดวงจันทร์ หรือดาวอังคาร การสำรวจอวกาศนั้นนิยมที่จะใช้หุ่นยนต์เป็นตัวนำทางก่อน เนื่องจากมีความปลอดภัยต่อชีวิตมนุษย์สูง

หุ่นยนต์ในการสำรวจดาวอังคาร

การทหาร เนื่องจากมนุษย์ถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุด การทำงานในพื้นที่เสี่ยงภัยต่างๆ อาจมีผลทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตได้ หุ่นยนต์อัตโนมัติจึงได้เข้ามีบทบาทอย่างมากในกิจการด้านการทหาร ยกตัวอย่างเช่นการบินลาดตระเวณ หรือการบินสอดแนมในน่านฟ้าพื้นที่เสี่ยงภัย

เครื่องบินลาดตระเวนระบบอัตโนมัติที่ใช้ในกิจการด้านการทหาร

3. ด้านการแพทย์ ปัจจุบันนี้ทางการแพทย์เริ่มนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้ามาใช้งานมากขึ้น เช่นการเสริมสร้างสมถภาพของร่างกาย ด้วยการใส่ชุดหุ่นยนต์เพื่อเพิ่มพลังให้มากขึ้น ใช้ในการยกของให้ได้มากๆ ระบบชุดหุ่นยนต์หรืออวัยวะเสริมที่เป็นกลไกแบบหุ่นยนต์เหล่านี้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยในการเดินสำหรับผู้พิการ หรือนำมาใช้ช่วยเสริมแรงให้กับผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับการใช้แรงมากๆ เช่นพยาบาลหรือนักกายภาพบำบัดที่ต้องยกผู้ป่วยขึ้นลงจากเตียงวันละหลายๆครั้งเป็นต้น

ชุดหุ่นยนต์ ใส่เพื่อเพิ่มพลังกาย

ในการผ่าตัด บาดแผลที่เกิดขึ้นจากการผ่าตัดนั้นมีผลอย่างมากในการฟื้นตัวของผู้ป่วย ถ้าบาดแผลยิ่งเล็กผู้ป่วยก็จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้เร็วขึ้น เทคโนโลยีหุ่นยนต์จึงถูกทำนำเข้ามาใช้ในการผ่าตัด โดยหุ่นยนต์นั้นสามารถทำงานร่วมกับศัลยแพทย์ผู้ควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผลดีของการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์นั้น จะทำให้รอยแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กเพียงแค่หัวของดินสอเท่านั้น

การใช้หุ่นยนต์ช่วยในการผ่าตัด

สำหรับหรือผู้พิการที่ไม่สามารถพึ่งตัวเองได้นั้น การใช้กายอุปกรณ์เทียมจากหุ่นยนต์ ก็ทำให้มีความสามารถมากขึ้นมากกว่าอุปกรณ์แบบธรรมดา เช่นขาเทียมคนพิการแบบปรับอัตราหน่วงได้ โดยปกติแล้วคุณสมบัติของกล้ามเนื้อขาของมนุษย์จะเปรียบเสมือน การทำงานของกลไกที่ประกอบไปด้วย มวล สปริงและ ตัวหน่วง แต่ขาเทียมที่ใช้ในปัจจุบัน จะมีเพียง มวล กับสปริง ซึ่งทำให้ลักษณะการก้าวเดินโดยใช้ขาเทียมแตกต่างไปจากคนปกติ การนำตัวหน่วงแบบปรับอัตราการหน่วงได้ด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ มาประยุกต์ใช้กับขาเทียม จะทำให้การดำรงชีวิตของผู้ป่วยใกล้เคียงกับคนปกติมากยิ่งขึ้น

ต้นแบบขาเทียมแบบปรับอัตราหน่วงได้ซึ่งพัฒนาโดย FIBO

แม้แต่การใช้แขนเทียม ซึ่งโดยปกติแล้วแขนจะมีระบบการทำงานที่มากกว่าขา การใช้สัญญาณทางชีวภาพ (biological signal) ของร่างกายส่วนอื่น เช่น การกรอกตาไป-มา กล้ามเนื้อ หรือสมองก็สามารถนำมาใช้ควบคุมหุ่นยนต์ได้เช่นกัน

การใช้สัญญาณทางชีวภาพในการควบคุมหุ่นยนต์

4. ด้านการบริการ การคมนาคมสัญจรไปมานั้น เดิมทีต้องใช้มนุษย์เป็นคนควบคุม บางครั้งความเมื่อยล้าของคนมีผลทำให้ประสิทธิภาพในการควบคุมยานพาหนะนั้นลดลง ทำให้เกิดอันตรายได้ปัจจุบันนี้การปรับปรุงหุ่นยนต์มาใช้ในงานทั่วไปอย่างยานยนต์อัตโนมัตินั้น ก็เริ่มเป็นรูปร่างมากขึ้นแล้ว ในอนาคตอีกไม่ไกลนั้นการนั่งรถยนต์โดยไม่มีคนขับเป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ยานยนต์อัจฉริยะถูกพัฒนาขึ้น เพื่อให้มีความสามารถในการที่พาตัวเองไปยังที่จุดหมายได้ โดยอาศัยระบบเซนเซอร์ตรวจรู้ต่างๆรับข้อมูลจากสภาพแวดล้อมรอบตัว และใช้สมองกลคอมพิวเตอร์ประมวลผลจากอุปกรณ์ตรวจรู้ต่างๆ ที่ส่งเข้ามาอย่างชาญฉลาด ทำให้รถสามารถวิ่งถึงจุดหมายได้อย่างแม่นยำ และปลอดภัย


รถอัจฉริยะที่ประกอบไปด้วยเซนเซอร์ที่ใช้ในการนำทางต่างๆ

งานทำความสะอาดบ้าน เดิมทีนั้นอาจจะเป็นงานค่อนข้างน่าเบื่อสำหรับหลายๆคน ในอนาคตหุ่นยนต์จะถูกพัฒนาให้มีความสามารถมากขึ้น จนสามารถทำงานพื้นฐานได้หลายอย่างเช่น การดูดฝุ่น และการจัดของภายในบ้าน


หุ่นยนต์ทำความสะอาดบ้าน

งานดูแลมนุษย์ นับเป็นจุดประสงค์แรกเริ่มหลักทีเดียวของการประดิษฐ์คิดค้นหุ่นยนต์ขึ้นมา มนุษย์ใฝ่ฝันที่จะมีผู้ดูแล คอยรับใช้มาตั้งแต่อดีต หุ่นยนต์จึงถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้ฝันนั้นเป็นจริง เนื่องด้วยหุ่นยนต์มีชีวิตที่ยืนยาวและแข็งแกร่งกว่ามนุษย์ นักวิทยาศาสตร์จึงหวังว่าเมื่อหุ่นยนต์มาอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ หุ่นยนต์จะช่วยดูแลและปกป้องมนุษย์ และเป็นสื่อกลางการส่งผ่านความรู้ที่เกิดจากการปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ ไปสู่รุ่นลูกหลานของมนุษย์ต่อไปได้

หุ่นยนต์ดูแลมนุษย์

5. ด้านสันทนาการ เพื่อนเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนแสวงหา การมีเพื่อนคู่คิด หรือเพื่อนเล่นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก หุ่นยนต์ก็นับเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่ง ซึ่งถูกสร้างมาเพื่อที่จะตอบสนองในสิ่งนี้ ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของหุ่นยนต์ ทำให้หุ่นยนต์สามารถที่จะสามารถรับฟังคำสั่งของมนุษย์ได้ และด้วยอุปกรณ์ต่างๆที่ถูกพัฒนาประสิทธิภาพขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้หุ่นยนต์สามารถตอบสนองในสิ่งที่มนุษย์ต้องการได้มากขึ้น ในอนาคตไม่ไกลคงจะได้เห็นภาพหุ่นยนต์เดินเคียงข้างมนุษย์อย่างแน่นอน

หุ่นยนต์เป็นเพื่อนเล่นกับมนุษย์

จากความสามารถของคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มขึ้น หุ่นยนต์จึงถูกพัฒนาให้มีอารมณ์และความรู้สึก การสร้างหุ่นยนต์ให้มีลักษณะเหมือนสัตว์เลี้ยง มีความรู้สึกตอบสนอง จึงเป็นอีกรูปแบบหนึ่งในการพัฒนาหุ่นยนต์ เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถเป็นเพื่อนกับมนุษย์ ได้

หุ่นยนต์ถูกสร้างเป็นสัตว์เลี้ยง

การแข่งขันหุ่นยนต์ นับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการสนทนาการ ด้วยในอนาคตหุ่นยนต์จะมีความสามารถทางกายภาพ และความคิดมากขึ้น การนำหุ่นยนต์มาแข่งขันความสามารถกันก็นับเป็นการพัฒนาความสามารถของมนุษย์ และให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินอีกทางเช่นกัน

การแข่งขันความสามารถของหุ่นยนต์



วิทยาการหุ่นยนต์ในอนาคต

จะเห็นได้ว่าในอนาคตนั้น หุ่นยนต์จะถูกนำเข้ามาใช้งานในหลายๆด้าน ซึ่งการพัฒนาหุ่นยนต์จำเป็นต้องอาศัยแนวทางในวิทยาการ 5 สาขาหลักดังต่อไปนี้

1. วิทยาการด้านปฏิสัมพันธ์  (interaction) เนื่องจากหุ่นยนต์จะต้องทำงานร่วมกับมนุษย์ การสื่อสารจึงถือเป็นขั้นพื้นฐานที่สุดที่หุ่นยนต์จะต้องมี ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) จะช่วยให้หุ่นยนต์เข้าใจความหมายเชิงกลุ่มคำหรือประโยค หรือการตีความหมายจากสัญญาณอื่นๆได้ เช่น หุ่นยนต์บางตัวได้รับการพัฒนาให้จดจำหน้าตา (face recognition) และท่าทาง (gesture recognition) ของผู้ใช้ได้ ด้วยเทคโนโลยีการมองเห็นของหุ่นยนต์ (robot vision) ซึ่งใช้กล้องเป็นตัวรับภาพ เพื่อแยกแยะรูปแบบใบหน้าและท่าทางของผู้ใช้ โดยการอาศัยความรู้เรื่องระบบภาพ (vision system) และการประมวลผลภาพในคอมพิวเตอร์(image processing) บางระบบผู้ใช้สามารถใช้เสียงในการสั่งงานหุ่นยนต์ผ่านการรู้จำเสียง (speech recognition) โดยหุ่นยนต์จะโต้ตอบกับผู้ใช้ผ่านทางท่าทาง หน้าจอ และ/หรือ เสียงสังเคราะห์ (synthesized sound) ผ่านทางลำโพงเป็นต้น

การจดจำท่าทางของหุ่นยนต์

ในอนาคตหุ่นยนต์จะต้องมีความสามารถในการทักทาย และสื่อสารกับมนุษย์ หรือแม้กระทั่งเพื่อนหุ่นยนต์ด้วยกันเอง โดยการสั่งการผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ ของหุ่นยนต์

2. วิทยาการด้านการเคลื่อนที่ (locomotion) การเคลื่อนที่นับเป็นอีกหนึ่งที่สำคัญของหุ่นยนต์ ปัจจุบันหุ่นยนต์ที่ใช้ขาสามารถลุกขึ้น เดิน ยืน และวิ่งเหยาะๆ ได้แล้ว  โดยอาศัยความรู้ความเข้าใจด้านพลศาสตร์ (dynamics) การพัฒนาของอุปกรณ์ขับเร้า (actuator) ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้หุ่นยนต์มีประศิทธิภาพในการเคลื่อนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งความรู้ในสาขานี้ได้นำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแขน-ขาเทียมสำหรับผู้พิการ หรือรวมไปถึงหุ่นยนต์เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินอีกด้วย

หุ่นยนต์ที่มีความสามารถในการขึ้นลงบันได

ในอนาคตนั้นความสามารถของหุ่นยนต์ใช้ขา จะสามารถวิ่งได้เร็วขึ้น มีความสามารถในการกระโดด ส่วนการเคลื่อนที่ในรูปแบบอื่นเช่น ล้อหรือสายพาน หุ่นยนต์ก็สามารถที่จะปีนป่ายทางลาดชัน หรือทางขรุขระได้มากขึ้น รวมถึงการใช้ปีกในการบิน หรือใบพัดในการดำน้ำ หุ่นยนต์ก็จะสามารถทำได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 3. วิทยาการด้านการนำทาง (navigation) การรู้ตำแหน่งของตัวเองในหุ่นยนต์เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ในการกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่หรือการทำงาน ยกตัวอย่างเช่นระบบรถอัตโนมัติการรู้ว่าตัวเองอยู่ที่ไหน? จะไปที่ใด? ไปอย่างไร? ในเส้นทางไหน? มีความจำเป็นมากต่อหุ่นยนต์ ดังนั้นในหุ่นยนต์จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจรู้ที่เกี่ยวข้องกับการระบุตำแหน่งและการนำทางที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าสิ่งที่มนุษย์มีมาตามธรรมชาติ เช่นอุปกรณ์ตรวจรู้ตำแหน่งจากสัญญาณดาวเทียมจีพีเอส ตัวตรวจรู้ระบบอัลตร้าโซนิค เป็นต้น

อุปกรณ์นำทางภาพเสมือนที่ซ้อนลงไปยังภาพจริง

ในอนาคตนั้นระบบนำทางจะถูกพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมาก เราเพียงแค่นั่งและระบุจุดหมายปลายทางที่จะไป เราก็จะถึงจุดหมายได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย

4. วิทยาการด้านการเคลื่อนย้ายชิ้นงาน (manipulation) ในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นการหยิบจับเคลื่อนย้ายชิ้นงานเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก การหยิบจับชิ้นงานที่เหมาะสม จะช่วยร่นระยะเวลาในการทำงาน และความเสียหายของชิ้นงานได้ นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามคิดค้นมือจับ และการเคลื่อนไหวของแขนหุ่นยนต์ในลักษณะต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับงาน และสามารถปรับเปลี่ยนได้ดียิ่งขึ้น ชึ่งในอนาคตนั้นหุ่นยนต์จะมีความสามารถในการหยิบจับเคลื่อนย้ายชิ้นงานได้หลายรูปแบบมากขึ้น โดยแขนของหุ่นยนต์ที่สามารถยืดหด และปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน ทำให้หุ่นยนต์สามารถช่วยเหลือมนุษย์ได้มากขึ้น

มือหุ่นยนต์ที่ถูกพัฒนาให้มีความสามารถในการหยิบจับ

5. วิทยาการด้านอัจฉริยะ (intelligence) หุ่นยนต์ที่สามารถคิดเองได้นั้น มิได้มีอยู่แต่เพียงในภาพยนตร์เท่านั้น ปัจจุบันหุ่นยนต์ได้รับการพัฒนาจนสามารถค้นหาคำตอบสำหรับปัญหาใหม่จากฐานข้อมูลเดิมที่มีอยู่ (deduction) โดยแนวโน้มที่หุ่นยนต์จะสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเองเช่นเดียวกับมนุษย์มีความเป็นไปได้อย่างมากในอนาคต

หุ่นยนต์สามารถทักทาย และแสดงความคิดเห็นได้

อย่างไรก็ตามในอนาคตนั้นความฉลาดของหุ่นยนต์จะมีมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งานว่าต้องการให้หุ่นยนต์นิ่งเฉยจนกว่าจะถูกถาม หรือมีความคิดเป็นของตัวเอง อย่างไรก็ตามในวันที่หุ่นยนต์เกิดมีความคิดเป็นของตัวเอง มนุษย์คงมีคำถามต่อไปว่า “หุ่นยนต์จะยังเชื่อฟังคำสั่งมนุษย์อีกต่อไปหรือไม่?”


หุ่นยนต์กับสังคมไทยในอนาคต

ถึงแม้นว่าประเทศไทยจะเป็นสังคมที่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม แต่การนำหุ่นยนต์เข้ามาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม ย่อมจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น การได้รับความรู้และคำแนะนำที่ถูกต้องย่อมทำให้เลือกใช้เทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ได้อย่างเหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในประเทศไทยมีหลายหน่วยงานที่สนับสนุนเกี่ยวกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีระหว่างภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และภาคการศึกษาย่อมส่งผลอันดีในการพัฒนาประเทศ

ประเทศไทยไม่ใช่ต้นกำเนิดของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ อย่างญี่ปุ่นหรืออเมริกา แต่ด้วยเยาวชนไทยมีพรสวรรค์และความเพียรอุตสาหะไม่แพ้ชนชาติอื่นใด ซึ่งเห็นได้จากการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับนานาชาติ ทีมเยาวชนไทยสามารถชนะทีมจากประเทศเจ้าของเทคโนโลยี และครองแชมป์อย่างต่อเนื่อง ความสำเร็จนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากทั้งภาครัฐและเอกชน ในสภาวการณ์ปัจจุบัน จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องรู้จักใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เกิดความคุ้มค่ากับการลงทุน อีกทั้งยังต้องเร่งพัฒนาภูมิปัญญาไทยเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีในระดับนานาชาติ เพื่อเพิ่มผลิตภาพอุตสาหกรรม (industrial productivity) ให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้จริงในตลาดโลก การเข้าใจภาพรวมทั้งการบริหารจัดการเทคโนโลยี และความซับซ้อนของหุ่นยนต์อันเป็นหนึ่งในห้าเทคโนโลยีสำคัญของโลกอนาคตจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ความเข้าใจดังกล่าวข้างต้นนี้ย่อมส่งผลให้เราสามารถสร้างจินตนาการ ติดตาม เลือกใช้ ดัดแปลง และคิดค้นเทคโนโลยีในทางที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติสืบไป

อาการคอมพิวเตอร์เสียที่พบบ่อย

ลักษณะอาการเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์ เราสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มอาการ ดังนั้นในการตรวจหาสาเหตุของอาการเสีย ก็ให้ดูว่าเป็นอาการเสียที่อยู่ในกลุ่มใดดังนี้

1. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องจากเสียง Beep Code

ทุก ๆ ครั้งที่คุณเปิดใช้งานเครื่องครั้งแรก ก็จะได้ยินเสียง ปี๊ป ดังสั้น ๆ 1 ครั้ง แล้วเครื่องก็จะทำงานต่อตามปกติ แต่ถ้าเมื่อไรที่คุณได้ยินสียงมากกว่า 1 ครั้ง หรือมีเสียงดังยาว ๆ จากนั้นเครื่องก็หยุดนิ่ง ก็ทำใจไว้ได้เลยว่าเครื่องของคุณมีปัญหาแล้ว เมื่อคุณเจออาการแบบนี้ให้รีบปิดเครื่องทันที เพราะตราบใดที่เครื่องยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะไม่สามารถใช้งานเครื่องได้จนกว่าจะแก้ปัญหาเสียก่อน เสียงปี๊ปที่เราได้ยินนี้จะถูกเรียกว่า Beep Code ซึ่งจะมีจำนวนครั้งไม่เท่ากัน และมีเสียงดังสั้นบ้างยาวบ้าง ลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันนี้เองที่บอกเราว่า อุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหา ดังนั้นถ้าเจอปัญหาลักษณะนี้ก็ต้องลองฟังให้ดีว่า ดังกี่ครั้ง สั้นยาวแบบไหน แล้วนำไปเทียบดูในตารางไบอสตามยี่ห้อของไบออส เพื่อจะรุ้ว่าอะไรคือต้นเหตุ แล้วจะได้หาทงแก้ไขต่อไป

2. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องโดยดูจากข้อความที่แจ้งบนหน้าจอ

การแจ้งปัญหาหรือความผิดปกติที่เครื่องตรวจพบด้วยข้อความบนหน้าจอ ซึ่งเราเรียกว่า Message Error นับป็นการแจ้งปัญหาอีกแบบหนึ่งที่มีประโยชน์ เพราะเราสามรถรู้ปัญหาได้ทันทีว่าอปกรณ์ตัวไหนทำงานผิดปกติ หรือไม่ก็รู้ว่าการทำงานส่วนใดมีปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาที่ง่ายขึ่น ตัวอย่างของข้อความที่ปรากฎให้เห็นบนหน้าจอบ่อย ๆ อย่างเช่น
CMOS checksum Error
CMOS BATTERY State Low
HDD Controller Failure
Diskplay switch not proper

ดังนั้นถ้าคุณพบว่าเครื่องได้แจ้งปัญหาให้ทราบก็ให้รับหาทางแก้ไขโดยด่วน แต่ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ก็ให้จดข้อความบนหน้าจอไว้ เพื่อเอาไว้สอบถามผู้ที่สามารถให้คำแนะนำได้หรือเอาไวให้ช่างที่ร้านซ่อมดูก็ได้ เพื่อให้การตรวจซ่อมทำได้เร็วขึ้น

3. ตรวจสอบอาการเสียโดยดูจากความผิดปกติของเครื่องที่สามารถสังเกตุ

วิธีนี้คงต้องใช้ทักษะ ความรู้ และความชำนาญมากกว่า 2 แบบแรก เพราะจะเป็นอาการที่เครื่องไม่ได้มีอะไรแจ้งให้เราทราบเลยว่าอุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหาหรือเสียหาย มีแต่ความผิดปกติที่เราสามารถสังเกตุได้ทางกายภาพ อย่างเช่น เปิดสวิตซ์แล้วไฟไม่ติด , เสียบปลั๊กแล้วเครื่องก็เปิดทันที , เปิดใช้เครื่องได้ไม่ถึง 5 นาที ระบบก็ล่ม เป็นต้น จะเห็นว่าอาการดังกล่าวนี้เครื่องไม่ได้แจ้งอะไรให้เราทราบเลยนอกจากอาการผิดปกติที่เรารับรู้ได้ ดังนั้นในการแก้ปัญหาในลักษณะนี้จึงจะต้องอาศัยผู้ที่มีประสบการณ์หรือช่างผู้ชำนาญ จึงจะสามารถวิเคราะห์ตรวบสอบ และทำการซ่อมแซมแก้ปัญหาได้

4. ตรวจสอบอาการเสียที่เราสามารถระบุอุปกรณ์ได้เลย

ปัญหาแบบนี้จะเป็นกับอุปกรณ์ที่เราใช้อยุ่เป็นประจำแต่ถ้าอยุ่ ๆ ไม่สามารถทำงาน หรือทำงานได้ไม่ดี เราก็รู้ได้ทันทีว่าอะไรเสีย อย่างเช่น ไดรว์ซีดีรอมไม่ทำงาน ภาพบนจอสั่นหรือกระพริบ ไดรว์ A ไม่ยอมอ่านแผ่น เป็นต้น จะเห็นว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากความผิดปกติของอุปกรณ์ชิ้นนั้น ๆ โดยตรง การตรวจสอบหรือตรวจเช็คจึงทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือน 3 แบบที่ผ่านมา

5. ตรวจสอบอาการเสียที่เกิดจากการอัพเกรดอุปกรณ์ ไปจนถึงการปรับแต่งเครื่อง

สิ่งที่ทำให้เครื่องเกิดปัญหาอีกอย่างก็คือ การเพิ่มเติม ปรับเปลี่ยนหรือปรับแต่งอุปกรณ์บางตัวก็ทำไห้เกิดปัญหาได้อีกเหมือนกัน เช่น อัพเกรดแรมแล้วเครื่องแฮงค์ Overclock ซีพียูจนไหม้ , ปรับ BOIS แล้วเครื่องรวน เป็นต้น จะเห็นว่าในสภาพเครื่องก่อนกระทำใด ๆ ยังทำงานได้ปกติอยุ่ แต่หลังจากที่มีการอัพเกรดหรือปรับแต่งเครื่องแล้วก็มีปัญหาตามมาทันที แล้วคุณจะทำอย่างไร ????? ที่นี่มีคำตอบให้คุณ

มารู้จักกับ E-Book กันเถอะ (สำหรับคนที่ยังไม่รู้ครับ)


   ถ้าพูดถึงหนังสือส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า จะมีลักษณะเป็นเอกสารที่จัดพิมพ์ด้วยกระดาษ มีการเข้าเป็นรูปเล่มที่สวยงาม แต่ในปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตมาสู่ยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ ได้มีการพัฒนาต่อเนื่องทำให้มีการคิดค้นวิธีการใหม่โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย จึงได้นำหนังสือดังกล่าว ด้วยการนำเอาหนังสือเหล่านั้นมาทำคัดลอก (scan) โดยหนังสือก็ยังคงสภาพเดิม แต่จะได้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นแฟ้มภาพขึ้นมาใหม่ โดยจะนำแฟ้มภาพตัวหนังสือมาผ่านกระบวนการแปลงภาพเป็นตัวหนังสือ (text) ด้วยการทำ OCR (Optical Character Recognition) คือ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงภาพตัวหนังสือให้เป็นตัวหนังสือที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้การถ่ายทอดข้อมูลในระยะต่อมา จะถ่ายทอดผ่านทางแป้นพิมพ์ และประมวลผลออกมาเป็นตัวหนังสือและข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหน้ากระดาษก็เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นแฟ้มข้อมูล (files) แทน ทั้งยังมีความสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร (documents printing) รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยุคแรกๆ มีลักษณะเป็นเอกสารประเภท .doc, .txt, .rtf, และ .pdf ไฟล์ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ข้อมูลต่างๆ ก็จะถูกออกแบบและตกแต่งในรูปของเว็บไซต์ โดยในแต่ละหน้าของเว็บไซต์เราเรียกว่า "web page" โดยสามารถเปิดดูเอกสารเหล่านั้นได้ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ (web browser)  
ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สามารถแสดงผลข้อความ ภาพ และการปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
           เมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมมากขึ้น บริษัทไมโครซอฟต์ (Microsoft) ได้ผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาเพื่อคอยแนะนำในรูปแบบ HTML Help ขึ้นมา มีรูปแบบของไฟล์เป็น .CHM โดยมีตัวอ่านคือ Microsoft Reader(.LIT) หลังจากนั้นต่อมามีบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ได้พัฒนาโปรแกรมจนกระทั่งสามารถผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นลักษณะเหมือนกับหนังสือทั่วไปได้ เช่น สามารถแทรกข้อความ แทรกภาพ จัดหน้าหนังสือได้ตามความต้องการของผู้ผลิต และที่พิเศษกว่านั้นคือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ สามารถสร้างจุดเชื่อมโยงเอกสาร (Hypertext) ไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกได้ อีกทั้งยังสามารถแทรกเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ลงไปในหนังสือได้โดยคุณสมบัติเหล่านี้ไม่สามารถทำได้ในหนังสือทั่วไป
               E-Book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คำนี้อาจจะเป็นคำใหม่ในความรู้สึกของหลาย ๆ คน แต่ อีกไม่นานจะเป็นที่รู้จัก ในหมู่นักอ่านทั้งหลาย โดยเฉพาะในวงการห้องสมุดซึ่งในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบให้เป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดดิจิทัลและห้องสมุดเสมือน เทคโนโลยีนี้ก็คงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการนำมาให้บริการกับผู้ใช้ 
ความหมายของ E-Book
                  E-Book (Electronic Book) หรือ"หนังสืออิเล็กทรอนิกส์" หมายถึง  ระบบคอมพิวเตอร์ หรือหนังสือที่สามารถอ่านได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์เหมือนเปิดอ่านจากหนังสือ โดยตรงที่เป็นกระดาษ แต่ไม่มีการเข้าเล่ม เหมือนหนังสือที่เป็นกระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีความสามารถมากมายคือ มีการเชื่อมโยง ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั่วไปเพียงแต่เป็นระบบหนังสือบนเครือข่ายเท่านั้น หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงข้อความ รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหวได้ เราสามารถอ่านหนังสือ ค้นหาข้อมูล และสอบถามข้อมูลต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก ได้จากอินเตอร์เน็ต จากคอมพิวเตอร์เพียงเครื่อง เดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นแฟ้มข้อมูล ประเภทข้อความ (Text File) ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักของภาษา HTML (Hyper Text Mask Language) ที่ใช้เขียนโปรแกรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันมี 2 ประเภทคือ ซอฟต์แวร์สำรับการเขียนข้อมูลให้ออกมาเป็น E-Book และ ซอฟต์แวร์สำหรับการอ่าน

วิวัฒนาการของ Electronic Book
                ความคิดเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีมาภายหลังปี ค.ศ. 1940 ซึ่งปรากฏในนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง หนึ่ง เป็นหลักการใหม่ของคอมพิวเตอร์ตามแบบแผน IBM มีผลิตภัณฑ์คือ Book Master เนื้อหาหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ในปี 1980 และก่อน 1990 ในช่วงแรกมี 2 ส่วน คือ เรื่องเกี่ยวกับคู่มืออ้างอิงและการศึกษาบันเทิง งานที่เกี่ยวกับการอ้างอิง มักจะเกี่ยวกับเรื่องการผลิตและการเผยแพร่เอกสารทางวิชาการพร้อมๆ กันกับการผลิตที่ ซับซ้อน เช่น Silicon Graphics ด้วยข้อจํากัดทางเทคโนโลยีที่ห่างไกลความจริง เช่น มีปัญหาของจอภาพซึ่งมี ขนาดเล็กอ่านยาก แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้น ไม่มีการป้องกันข้อมูลซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ ต่อมาเทคโนโลยีแล็บท็อปคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีส่วนช่วยให้ E-Book มีการรุดหน้าเร็วขึ้นจนสามารถ บรรลุผลในการเป็นหนังสือที่สมบูรณ์แบบ เพราะได้นําบางส่วนของแล็บท็อปมาประยุกต์ใช้จนทำ ให้ E-Book มี คุณภาพและประสิทธิภาพที่ดีได้ นอกจากนี้ Internet ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ต้องมีอุปกรณ์ที่จะใช้เก็บข้อมูล สามารถส่งข้อมูลได้คราวละมากๆ มีการป้องกันข้อมูล (Encryption) ใน การพัฒนา E-Book จะมุ่งไปที่ความบางเบาและสามารถพิมพ์ทุกอย่างได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ให้เหมือนกระดาษ จริงมากที่สุด 
ความแตกต่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) กับหนังสือทั่วไป 
ความแตกต่างของหนังสือทั้งสองประเภทจะอยู่ที่รูปแบบของการสร้าง การผลิตและการใช้งาน เช่น
             1. หนังสือทั่วไปใช้กระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้กระดาษ
             2. หนังสือทั่วไปมีข้อความและภาพประกอบธรรมดา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถสร้างให้มี
ภาพเคลื่อนไหวได้
             3. หนังสือทั่วไปไม่มีเสียงประกอบ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถใส่เสียงประกอบได้
             4. หนังสื่อทั่วไปแก้ไขปรับปรุงได้ยาก หนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถแก้ไขและปรับปรุง              ข้อมูล (update)ได้ง่าย
             5. หนังสือทั่วไปสมบูรณ์ในตัวเอง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (links) ออก
ไปเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกได้
              6. หนังสือทั่วไปต้นทุนการผลิตสูง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำ 
ประหยัด
              7. หนังสือทั่วไปมีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์
สามารถทำสำเนาได้ง่ายไม่จำกัด
              8. หนังสือทั่วไปเปิดอ่านจากเล่ม  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้องอ่านด้วยโปรแกรม ผ่านทาง
หน้าจอคอมพิวเตอร์
             9. หนังสือทั่วไปอ่านได้อย่างเดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นอกจากอ่านได้แล้วยังสามารถ
สั่งพิมพ์ (print)ได้
            10. หนังสือทั่วไปอ่านได้1 คนต่อหนึ่งเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่ม สามารถอ่านพร้อมกัน 
ได้จำนวนมาก (ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต)
             11. หนังสือทั่วไปพกพาลำบาก (ต้องใช้พื้นที่) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์พกพาสะดวกได้ครั้งละ
จำนวนมากในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์ใน Handy Drive หรือ CD
             12. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม       
สรุป       
จากอดีตจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของหนังสือทั่วไป ให้กลายมาเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัยและมีประโยชน์มากมายในการศึกษาค้นคว้าโดยไม่จำเป็นต้องหอบหนังสือหลาย ๆ เล่ม เพียงแต่เราค้นหาผ่านระบบเครือข่ายก็สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลามีการเรียนรู้โดยไร้ขอบเขต แต่อย่างไรก็ตามหนังสือที่พิมพ์ด้วยกระดาษก็ยังมีคุณค่าในหลาย ๆ ด้าน ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปอย่างไร หนังสือก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญเปรียบเสมือนเป็นมรดกทางด้านวัฒนธรรม ภูมิปัญญาที่มิอาจสูญหายและยังคงอยู่ตลอดไป

10 ข้อควรรู้ก่อนซื้อการ์ดจอ

10 ข้อควรรู้ก่อนซื้อ การ์ดจอระดับเทพตัวโปรด 
เรื่องด่วนๆอย่างการเลือกการ์ดจอให้ถูกใจสักการ์ด บางครั้งก็ทำเราสับสนวุ่นวายได้เหมือนกัน นอกจากว่าคุณจะเป็นผู้ที่คร่ำหวอดเรื่องของเทคโนโลยีของการ์ดจออย่างชนิดตัวยง แต่ว่า ใครจะมานั่งตามให้ปวดหัววุ่นวายจริงไหมครับ ทั้งนี้เพราะว่าการ์ดจอนั้นมีการอัพเกรดแบบดกชนิดที่คุณคาดไม่ถึงเลยทีเดียวหล่ะครับ นั่นหมายถึงว่ามีการ์ดจอมากมายให้คุณเลือก และแน่นอน หากคุณเลือกไม่ดีละก็ คุณได้โดนฟันเลือดสาดแน่นอนครับ ผมวิธีการเลือกการ์ดจอให้คุณ 10 ข้อ ไว้ตัดสินใจเลือกการ์ดจอตัวใหม่ของคุณ สำหรับเกมใหม่ที่คุณอยากเล่นต่อไปไงครับ 

1. หน่วยความจำ มันไม่ใช่ทุกอย่างหรอก 
นี่คือเรื่องจริง ว่าการ์ดจอของเราตอนนี้มาพร้อมกับหน่วยความจำจำนวนหนึ่ง เริ่มตั้งแต่ 64 128 256 หรือแม้แต่ 512 หากรุ่นสูงมากๆก็เล่นกันเป็นกิ๊กเลยหล่ะครับซึ่งหน่วยความจำเหล่านี้จะช่วยเรามากในเรื่องของความละเอียด ซึ่งการ์ดจอรุ่นสูงๆนั้นมักจะมาพร้อมกับหน่วยความจำจำนวนมาก ทั้งนี้เพราะว่า หากหน่วยความจำไม่พอละก็ GPU ของคุณก็จะเป็นง่อยทีเดียวหล่ะครับ หากต้องการการประมวลผลจำนวนมาก ซึ่งผู้ผลิตการ์ดจอทราบดีว่าผู้ที่เลือกซื้อการ์ดจอนั้นมักจะมองหาการ์ดที่มีหน่วยความจำสูงๆเพื่อเปรียบเทียบการ์ด โดยหากเราสังเกตดีๆในท้องตลาดของเรา ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ทิพย์เอง การ์ดรุ่นต่ำๆนั้นให้หน่วยความจำมา 256 หรือไม่ก็ 512 MB กันเลยทีเดียว เพื่อที่จะลดความเร็วของหน่วยประมวลผลลง โดยอาจจะดูดีเมื่อคุณมองไปที่เสปคของการ์ด โอ ให้หน่วยความจำมาตั้งเยอะแยะ แต่ประสิทธิภาพที่แท้จริงของมันจะปรากฏเมือคุณเริ่มเล่นเกมนั่นแหละครับ 

2. ทั้งหมดอยู่ที่ GPU 
หน่วยความจำสำคัญก็จริง แต่หัวใจของการ์ดจริงๆนั้นจะอยู่ที่หน่วยประมวลผลกราฟิกครับ เมื่อคุณค้นหาชื่อของการ์ดจอนั้น สิ่งสำคัญสิ่งแรกให้คุณดูไปที่ชนิดของ GPU ว่ามาจาก NVIDIA หรือ ATI หรือเปล่า แต่มันก็ไม่เพียงพอหรอกหากเราจะดูแค่ว่ามากจาก NVIDIA Geforce หรือ ATI Radeon เท่านั้นคุณจำเป็นต้องดูที่รุ่นของมันด้วยซึ่งรุ่นนี่แหละครับจะบอกเราได้ว่าการ์ดตัวนี้จะมีราคาเท่าไหร่ ตั้งแต่ 2000 กว่าบาท จนถึง 20000 กว่าบาทเลยทีเดียวแม้ว่าจะมาจากชื่อ Geforce หรือ Radeon เหมือนๆกัน ซึ่งรุ่นสูงกว่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่า นอกจากรุ่นแล้วก็ยังมีรหัสต่อท้าย อย่างเช่น GT, GS, GTX, XT และ XTX ซึ่งตัวหนังสือเหล่านี้จะเป็นตัวบอกถึงรุ่นของ Shader และความเร็วในการทำงาน 

3.ไปป์ไลน์ เชดเดอร์ และความเร็วในการประมวลผล 
คุณอาจจะต้องดูในความเร็วหน่วยความจำของ GPU และจำนวนพิกเซลไปป์ไลน์ ซึ่งจำนวนไปป์ไลน์ที่มากกว่า แสดงได้ถึงการส่งผ่านข้อมูลที่มากกว่าในการทำงานแต่ละครั้ง เราจะเห็นได้ว่าการ์ดจอในรุ่นต่ำๆนั้นจะมีพิกเซลล์ไปป์ไลน์จำนวน 4 ไปป์ไลน์ รุ่นกลางนั้นจะมี 8-12 ไปป์ไลน์ และรุ่นสูงๆนั้นจะมีตั้งแต่ 16 ไปป์ไลน์ขึ้นไป และแน่นอนความเร็วก็มีผล แต่หากเปรียบเทียบระหว่างไปป์ไลน์กับความเร็วของคล๊อกนั้น ให้คุณเลือกไปป์ไลน์เป็นหลักนะครับ เช่นหากคุณมีการ์ดชนิด 400 เมกกะเฮิร์ต ซึ่งมี 8 ไปป์ไลน์ จะมีประสิทธิภาพดีกว่าการ์ดที่มี 4 ไปป์ไลน์ที่ความเร็ว 500 เมกกะเฮิร์ต 

4. วินโดวส์วิสต้า และ Direct X 10 
ไมโครซอฟท์มีแผนการที่จะวางจำหน่ายระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ล่าสุด Windows Vista ในต้นปี 2007 ที่จะถึงนี้ ระบบปฏิบัติการใหม่นี้จะมีฟีเจอร์หลักตัวหนึ่งคือ DirectX 10 ซึ่งรวมเอาฟังก์ชั่นใหม่ๆของเกมยุคหน้า แม้ว่า Vista ยังคงทำงานกับการ์ด DirectX 9 ในตอนนี้ได้ แต่คุณคงต้องการการ์ดที่สามารถรัน DirectX 10 ได้เพื่อให้มีประสิธิภาพสูงสุด 
ผมหวังว่า NVIDIA และ ATI เองนั้นจะออกการ์ดของตนเองที่สนับสนุน DX10 ในช่วงปลายปีหลังทีจะถึงนี้ แต่คุณไม่ต้องกลัวหรอกนะครับว่าการ์ดที่คุณซื้อในตอนนี้นั้นจะไม่สามารถที่จะเล่นเกมรุ่นใหม่ได้ และมีปัญหากับความเข้ากันได้ กว่าที่ระบบทั้งหมดจะปรับตัวให้เข้าที่เข้าทาง นักพัฒนาทำเกมสำหรับ DX10 ออกมานั้นก็กินเวลา 2-3 ปีโดยประมาณอยู่แล้ว ดังนั้นเกมในตอนนี้และอีกสองสามปีข้างหน้านั้นจะยังคงสามารถทีจะทำงานกับการ์ดจอของคุณได้อยู่ต่อไป ซึ่งเราจะเห็นว่าแม้เกมใหม่ๆอย่าง Halo 3 และ Shadowrun นั้นก็สนับสนุนทั้ง DX9 และ DX10 พร้อมๆกัน และยังคงเป็นอย่างนี้อยู่เรื่อยไปสักพักหลังจากที่วิสต้าออกมาแล้วก็ตาม 

5 คุณซื้อการ์ดได้ทุกเวลาเลย 
จากการที่ NVIDIA และ ATI เป็นคู่กัดกันในด้านของการทำการ์ดจอมาตลอดนนั้นทำให้การ์ดจอนั้นออกมาในตลาดบ่อยมาก โดยปกติมักจะออกรุ่นใหม่มาราวๆทุก 12-18 ดือนซึ่งก็จะเพิ่มประสิทธิภาพของการ์ดทั้งความเร็วคล็อก และเพิ่มฟังก์ชั่นใหม่ๆเข้าไป และด้วยการที่เทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาเรื่อยๆอย่างเช่น H.264 แบบไฮเดฟฟินิชั่นและ Shader Model แบบ Advance ออกมา เราอาจจะต้องรออย่างน้อย 2 ปีถึงจะให้เทคโนโลยีเหล่านี้แพร่หลาย 
คุณจึงมีเวลาดีตลอดเวลาในการที่จะเลือกซื้อการ์ดจอ โดยไม่ต้องรอ ราคาของการ์ดจอนั้นจะตกเร็วมากหากมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมา ซึ่งคุณสามารถที่จะใช้การ์ดจอของคุณในการเล่นเกมโปรดของคุณได้ต่อไปอย่างแน่นอน อย่างน้อยก็ 2-3 ปีเลยหล่ะครับ 

6.ไม่จำเป็นต้องจ่ายแพงเพื่อซื้อการ์ดจอ 
การ์ดจอรุ่นใหม่ๆที่ออกมาตอนนี้นั้นในรุ่นสูงๆจะมีราคาราวหมื่นถึงสองหมื่นบาท โดยคุณอาจจะหาการ์ดในรุ่นก่อนหน้าที่เป็นรุ่นสูงของมันซื่งสนับสนุนเทคโนโลยีที่เกมในปัจจุบันใช้กันอยู่ได้ในราคา 6000-10000 บาท 
ให้คุณลองตรวจสอบไปป์ไลน์และความเร็วของคล็อกเพื่อเปรียบเทียบการ์ดจากเทคโนโลยีในยุคที่ต่างกัน โดยคุณจะเห็นว่าบางครั้งมันค่อนข้างเหมือนกันเลยทีเดียว 

7. คุณมีพาวเวอร์พอไหม 
ให้ลองตรวจสอบเคสของคุณว่ามีตัวจ่ายไฟหรือพาวเวอร์ซัพไพลในการจ่ายไฟให้การ์ดจอของคุณเพียงพอหรือไม่ เพราะว่าการ์ดจอรุ่นใหม่เดี่ยวนี้เป็นตัวดูดไฟอย่างดีทีเดียวครับ ผู้ผลิตมักจะบอกความต้องการไฟไว้ข้างกล่องของตัวการ์ดที่คุณจะซื้อมา การ์ดจอรุ่นสูงๆตอนนี้มักต้องการพาวเวอร์ซัพพลาย 400 วัตต หรือ 450 วัตต์ หากเป็นการ์ดอบบคู่เช่น SLI หรือ CrossFire นั้นอาจจะต้องการพาวเวอร์ซัพพลายมากถึง 550 วัตต์เลยทีเดียวครับ 

8.AGP หรือ PCI Express 
จากการแนะนำตัวของ PCI Express เมื่อสองปีที่แล้วนั้น มันได้เข้ามาแทนอินเทอร์เฟสแบบ AGP โดยสมบูรณ์แบบ โดยมีแบนวิธมากกว่า AGP ถึง 2-4 เท่าและการ์ดจอรุ่นใหม่โดยมากจะมาแบบ PCI Express ทั้งนั้น แม้ว่าการ์ดบางรุ่นจะทำมาสำหรับ AGP เพื่อคนที่ใช้อยู่แล้วจะอัพเกรดเช่น GeForce 7800 GS แต่หากซื้อการ์ดจอใหม่เราแนะนำ PCI Express ก่อนนะครับ 

9. SLI และ Crossfire 
คุณอาจจะต้องการการ์ดคู่ในการทำงานหรือเล่นเกม เมื่อไหร่ที่คุณอัพเกรดการ์ดเป็นการ์ดคู่ละก็ อย่าลืมมองหา SLI และ CrossFire ซึ่งแน่นอนว่าประสิทธิภาพที่ได้นั้นจะต้องมากกว่าการ์ดเดี่ยวอย่างแน่นอน โดยอาจจะต้องการเมนบอร์ดที่ออกแบบมาเฉพาะ และพาวเวอร์ซัพพลายที่เพียงพอ 
NVIDIA และ ATI แข่งกันมากเรื่องของการ์ดคู่ โดย NVIDIA นั้นจะมี SLI (Scalable Link Interface) เป็นหัวหอก และ ATI จะมี CrossFire การ์ดที่คุณเลือกมาทั้ง SLI และ CrossFire นั้นจะต้องเป็นการที่ระบุว่าสามารถใช้ SLI หรือ CrossFire ได้ รวมถึงเมนบอร์ดของคุณต้องสนับสนุนด้วย 

10 ซื้อการ์ดจอต้องได้การ์ดจอ 
เลิกคิดถึงระบบประมวลผลกราฟิกแบบออนบอร์ดไปได้เลยครับ หากคุณเลือกซื้อทางอินเตอร์เน็ต หรือมองหาระบบดีๆเพื่อมาเล่นเกมโปรดหรือทำงานกราฟิกแบบหนักหน่วงละก็ ปิดบราวเซอร์ไปได้เลยหากเจอคำว่า Integrated Graphic หรือ Graphic On Board เพราะหากคุณเลือกแบบนี้มาละก็ มันก็เพียงพอสำหรับการใช้งานพวก Word หรือเล่นอินเตอร์เน็ตเท่านั้น

กว่าจะมาเป็น CPU



จุดเริ่มต้น ของ CPU

1. ทราย
ทรายสื่งที่พบเห็นได้ทั่วไปตามที่ต่างๆ ในทรายนั้นมีสิ่งต่างๆมากมาย หนึ่งในนั้นคือ ซิลิคอน(Si) ในทรายจะมีซิลิคอนอยู่ประมาณ 25% ซิลิคอนเป็นธาตุที่พบมากเป็นอันดับสองในเปลือกโลก ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของซิลิคอนไดออกไซด์หรือซิลิกา (SIO2) ซิลิกาพบมากในแร่ควอร์ตซ์ และซิลิคอนนั้นเป็นส่วนประกอบขั้นพื้นฐานที่สำคัญในการผลิต Semiconductor


 
ควอร์ตซ์

2. ซิลิคอนที่หลอมละลาย
ระดับ: Wafer(แผ่นชิพ)(~300mm/12 นิ้ว)
ซิลิคอนจากทรายหรือควร์อตซ์นั้นจะผ่านการชำระล้างหลายขั้นตอน จนได้ซิลิคอนบริสุทธิ์ที่มีคุณภาพมากพอและเหมาะกับการใช้สำหรับงานด้านอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Grade Silicon) หรือ EGS ใน EGS นั้นจะมีแต่อะตอมของซิลิคอนแต่อาจจะพบอะตอมอื่นๆอยู่บ้าง โดยใน 1 พันล้านอะตอมของซิลิคอน อาจพบ อะตอมอื่นๆแค่ 1 เท่านั้น จากรูป จะเห็นแท่งคริสตัลกำลังก่อตัวขึ้นจากซิลิคอนบริสุทธิ์ที่หลอมละลาย เรียกว่า อิงกัท(Ingot)

3. อิงกัท
ระดับ: Wafer(แผ่นชิพ)(~300mm/12 นิ้ว)
อิงกัทนั้นทำมาจาก EGS อิงกัท 1 อันนั้น จะหนักประมาณ 100 กิโลกรัม และมีความบริสุทธ์ของซิลิคอน ถึง 99.9999%

4. ตัดอิงกัท
ระดับ: Wafer(แผ่นชิพ)(~300mm/12 นิ้ว)
อิงกัทจะถูกแล่ออกมาเป็นแผ่นบางๆ เรียกว่า Wafer หรือแผ่นชิพ(กินไม่ได้นะคับและไม่ได้เคลือบช็อคโกแลตด้วย)


5. Wafer(แผ่นชิพ)ระดับ: Wafer(~300mm/12 นิ้ว)
เจ้าแผ่น Wafer จะถูกขัดจนเงาวับและราบเรียบราวกับกระจก บริษัทอินเทลนั้น ไม่ได้ทำแผ่น Wafer เอง แต่ซื้อมาจากบริษัทอื่น แผ่น Wafer ที่อินเทลใช้ผลิต CPU ในระดับ 45nm อย่าง Core i7 นั้น มีขนาดประมาณ 300 มิลลิเมตร หรือ 12 นิ้ว

6. เคลือบสารไวแสง
ระดับ: Wafer(แผ่นชิพ)(~300mm/12 นิ้ว)
หลังจากได้แผ่น Wafer แล้ว แผ่น Wafer จะถูกเคลือบด้วยสารไวแสง(ของเหลวสีฟ้า)ในขณะที่แผ่น Wafer นั้นกำลังหมุนอยู่ ที่ต้องหมุนแผ่น Wafer เวลาเคลือบ ก็เพื่อความเสมอกันและความบางของชั้นสารไวแสง

7. ฉายแสง
ระดับ: Wafer(แผ่นชิพ)(~300mm/12 นิ้ว)
หลังจากนั้น แผ่น Wafer จะถูกนำมาฉายด้วยแสง UV เพื่อพิมพ์วงจรต่างๆ โดยในขั้นตอนนี้จะเหมือนกับเวลาที่เรากดชัตเตอร์ถ่ายรูปด้วยกล้องที่ใช้ฟิล์ม จากรูป แสง UV จะถูกฉายผ่านแผ่นต้นแบบ(แผ่นฉลุ)ของวงจร ผ่านเลนส์ที่ช่วยย่อขนาดของวงจรให้เล็กลงและฉายลงบนแผ่น Wafer โดยวงจรที่พิมพ์ลงบนแผ่น Wafer นั้นจะมีขนาดเล็กกว่าบนแผ่นต้นแบบประมาณ 4 เท่า 


8. ฉายแสง(ต่อ)
ระดับ: Transistor(~50-200nm)
ภาพนี้เราขยายเข้ามาในแผ่น Wafer ที่ฉายแสงแล้ว โดยปกติแล้วแผ่น Wafer แผ่นเดียวสามารถสร้าง CPU ได้เป็นร้อยๆตัว แต่จากนี้ไปเราจะโฟกัสแค่ตัวเดียวเท่านั้น และต่อจากนี้ไปจะเป็นการสร้างตัว Transistor โดยนักวิจัยของอินเทลนั้นได้พัฒนาตัว Transistor ให้มีขนาดเล็กมาก เล็กขนาดที่สามารถวาง Transistor 30 ล้านตัว ไว้บนหัวเข็มได้เลยทีเดียว

9. ล้างสารไวแสง
ระดับ: Transistor(~50-200nm)
สารไวแสงจะถูกล้างด้วยสารละลาย เพื่อให้ได้วงจรตามแผ่นต้นแบบ

10. อิชชิ้ง(Etching)
ระดับ: Transistor(~50-200nm)
ขั้นตอนนี้เป็นการแกะวงจร โดยใช้สารละลาย สารไวแสงที่เคลือบไว้นั้นจะช่วยป้องกันพื้นที่ๆต้องการไว้ไม่ให้ละลาย และส่วนที่ไม่ต้องการก็จะละลายออกไป โดยการทำอิชชิ้งนี้จะคล้ายกับการกัดกระจกนั้นเอง


11. ขจัดสารไวแสง
ระดับ: Transistor(~50-200nm)
หลังจากทำ อิชชิ้ง แล้ว สารไวแสงจะถูกขจัดออกไป สุดท้ายก็จะได้แบบวงจรตามที่ต้องการ พร้อมที่จะทำตัว Transistor ในลำดับต่อ


12. เคลือบสารไวแสง(อีกครั้ง)
ระดับ: Transistor(~50-200nm)
ตัว Transistor จะถูกฉาบด้วยสารไวแสง(สีฟ้า) อีกครั้งแต่คราวนี้จะฉาบเฉพาะบางที่เท่านั้น และต่อไปจะเป็นการฝังไอออนลงบนแผ่น Wafer


13. การฝังไอออน
ระดับ: Transistor(~50-200nm)
ขั้นตอนนี้จะเป็นการฝังไอออนที่พื้นผิวของแผ่น Wafer เพื่อให้ตัว Transistor มีคุณสมบัติที่ต้องการ โดยการยิงไอออนด้วยความเร็วสูงประมาณ 300,000 km/h เข้าใส่แผ่น Wafer โดยพื้นที่สีเขียวจะได้รับไอออน แต่พื้นที่สีฟ้าจะไม่ได้รับไอออน เพราะมีสารไวแสงปกป้องไว้ 

14. ลบสารไวแสง
ระดับ: Transistor(~50-200nm)
หลังจากฝังไอออนเรียบร้อยแล้ว สารไวแสงก็จะถูกลบออกไป


15.Transistor
ระดับ: Transistor(~50-200nm)
ต่อมาตัว transistor จะถูกเคลือบด้วยชั้นฉนวน(สีม่วงแดง) โดยในชั้นฉนวนนั้นจะมีช่อง 3 ช่องไว้สำหรับใส่ทองแดงในลำดับต่อไป โดยทองแดงจะทำหน้าเป็นตัวเชื่อมต่อกับ Transistor ตัวอื่นๆ 

16. Electroplating (ชุบโลหะด้วยไฟฟ้า)
ระดับ: Transistor(~50-200nm)
ในขั้นตอนนี้แผ่น Wafer จะถูกชุบด้วยสารละลาย Copper Sulphate โดยตัว ไอออนของทองแดงจะถูกวางไว้เหนือตัว Transistor และไอออนของทองแดงจะวิ่งจากขั้ว+ (Anode) ไปหาขั้ว-(Cathode)


17. หลังจากการทำ Electroplating
ระดับ: Transistor(~50-200nm)
หลังจากเสร็จขั้นตอน Electroplating ผิวหน้าของแผ่น Wafer จะเต็มไปด้วยชั้นบางๆของไอออนทองแดง (สีครีม)


18. ขัดๆถูๆ
ระดับ: Transistor(~50-200nm)
ส่วนของพื้นนผิวที่เกินมาก็จะถูกขัดออกไป


19. ชั้นโลหะ
ระดับ: Transistor(Transistor 6 ตัวต่อกัน~500nm)
หลังจากได้ตัว Transistor แล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการเชื่อมต่อ Transistor แต่ละตัวเข้าด้วยกัน โดยชั้นโลหะทองแดง(เส้นๆสีครีม) จะทำหน้าที่เชื่อมต่อ Transistor เข้าด้วยกัน(ในรูป Transistor 6 ตัว ถูกต่อเข้าด้วยกัน) แต่จะถูกเชื่อมต่อแบบไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับสถาปัตยกรรมและทีมผู้ออกแบบ ว่า CPU นี้จะมีคุณสมบัติแบบไหนบ้าง ตัว Chip ของคอมพิวเตอร์นั้นเราอาจจะคิดทำไมมันบางจังแต่จริงๆแล้ว Chip ตัวนั้นอาจจะมีชั้นต่างๆมากกว่า 20 ชั้นด้วยกันเสร็จจากขั้นตอนนี้เราก็จะได้แผ่น Wafer ที่เต็มไปด้วย Die หลายร้อยตัว ดังภาพ
  
 แผ่น Wafer ของ Intel(i7)                 แผ่น Wafer ของ AMD

20. ทดสอบแผ่น Wafer
ระดับ: Die (~10 mm / ~0.5 นิ้ว)
ขั้นตอนต่อมาก็คือ การทดสอบการทำงานของ Chip ทุกตัวบนแผ่น Wafer โดยตัวทดสอบจะดูการทำงานและการตอบสนองของ Chip นั้น ว่าให้คำตอบที่ถูกต้องเพียงใด


21. ตัดแผ่น Wafer
ระดับ: Wafer(แผ่นชิพ)(~300mm/12 นิ้ว)
หลังจากผ่านการทดสอบแผ่น Wafer แล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการตัดแผ่น Wafer ออกมาเป็นชิ้นๆ หรือที่เรารู้จักกันดีว่า Die

22. หา Dies ที่ไม่สมบูรณ์
ระดับ: Wafer(แผ่นชิพ)(~300mm/12 นิ้ว)
Die ที่สอบผ่านก็จะถูกส่งไป สู่ขั้นตอนต่อไป (Packaging) Dies ที่สอบตกก็คงจะถูกเธอทิ้ง

23. Die
ระดับ: Die (~10 mm / ~0.5 นิ้ว)
Die ของ i7 ที่ถูกตัดออกมา


24. ประกอบร่าง
ระดับ: บรรจุภัณฑ์(~20 mm / ~1 นิ้ว)
ตัว Substrate, Die และ ตัวกระจายความร้อน จะถูกนำมาประกอบเข้าด้วยกัน กลายเป็น CPU ที่เราใช้กัน


25. โพรเซสเซอร์
ระดับ: บรรจุภัณฑ์(~20 mm / ~1 นิ้ว)
หลังจากประกอบเสร็จก็จะกลายเป็น CPU ที่สมบูรณ์ (รูปข้างต้นนั้นเป็นรูปของ i7) แต่ยังไม่พร้อมใช้ ยังเหลือขั้นตอนอีกนิดหน่อยการผลิต CPU นั้นเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสลับซับซ้อนมากที่สุดในโลกเลยทีเดียว จะต้องผ่านขั้นตอนต่างๆนาๆ หลายร้อยขั้นตอน กว่าจะมาเป็น CPU ที่เราใช้กัน 


26. ทดสอบแยกประเภท
ระดับ: บรรจุภัณฑ์(~20 mm / ~1 นิ้ว)
เมื่อประกอบเสร็จเรียบร้อย ต่อมาก็เป็นการทดสอบหาคุณสมบัติเฉพาะ ของ CPU ในแต่ละตัว เช่น มีความเร็วเท่าไหร่ ใช้พลังงานเท่าไหร่


27. แบ่งรุ่น
ระดับ: บรรจุภัณฑ์(~20 mm / ~1 นิ้ว)
ทดสอบเสร็จแล้ว ก็จัด CPU ที่มีคุณสมบัติเหมือนกันไว้ด้วยกัน และพร้อมใช้งาน พูดง่ายๆก็คือจัดรุ่นเดียวกันไว้ด้วยกัน


28. บรรจุกล่องพร้อมใช้
ระดับ: บรรจุภัณฑ์(~20 mm / ~1 นิ้ว)
CPU ที่จัดหมวดหมู่แล้วก็จะส่งไปตามโรงงานต่างๆ ในแบบถาด หรือ แบบกล่อง ที่ส่งไปตามร้านต่างๆ และจากร้านก็สู่มือเราๆท่านๆ นำไปใช้กัน


เป็นไงบ้างครับกับกระบวนการผลิต CPU จาก ทรายธรรมดาๆ ที่พบเห็นได้ทั่วไป กลายเป็น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่สำคัญ จริงๆแล้วขั้นตอนการผลิตมีเป็นร้อย แต่สรุปสั้นๆ ก็มี 28 ขั้นตอน ผิดพลาดประการใดก็ขออภัย ตรงไหนไม่ถูกต้องโปรดชี้แนะด้วยครับ เพราะศัพท์ทางเทคนิคเยอะพอควร ส่วนเพื่อนๆบางคนอ่านแล้วงงนี้ คงเป็นเพราะผมเรียบเรียงไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เหอๆ และหากเจอ สาระดีๆอีกจะนำมาแปลให้อ่านกันอีกทีครับ สวัสดีครับ